จากกรณี ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ สั่งสังหาร พลตรี ซูลีมานี วัย 62 ปี ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษคุดส์ สังกัดกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน (Revolutionary Guard Corps) เมื่อวันที่ 3 มกราคม ที่ผ่านมา ซึ่งหลายฝ่ายอาจกังวลว่าจะเป็นชนวนไปสู่สงครามระหว่างสองประเทศ และอาจเป็นสงครามโลกครั้งที่ 3
เป็นบุคคลสำคัญของประเทศอิหร่าน ถูกยกย่องให้เป็นวีรบุรุษในปี 1998
พลตรี ซูลีมานีเป็นผู้บัญชาการกองกำลังกุดส์ กองกำลังสำคัญของกองทัพพิทักษ์ปฏิวัติอิหร่าน มีบทบาทสำคัญในการวางแผนทางการทหารทั่วตะวันออกกลาง อิหร่านได้เปิดเผยว่า กองกำลังกุดส์มีบทบาทสำคัญในการให้คำแนะนำกองกำลังที่จงรักภักดีกับบาชาร์ อัล-อัสซาด ประธานาธิบดีซีเรียที่ครองอำนาจมาอย่างยาวนาน รวมถึงกองกำลังติดอาวุธมุสลิมชีอะห์หลายพันคนในต่อสู้ขับไล่กลุ่มก่อการร้ายไอเอสในอิรัก
โดยผู้นำชาวอิหร่านได้กล่าวว่า”เราสามารถโจมตีทำเนียบขาวได้ เราสามารถตอบโต้ชาวอเมริกันบนผืนดินของพวกเขาได้ เรามีพละกำลัง ตามพระประสงค์ของพระเจ้า เราจะตอบโต้ในเวลาที่เหมาะสมที่สุด เมื่อมีใครประกาศสงคราม คุณจะตอบโต้พวกเขาด้วยดอกไม้เหรอ เขาจะได้ยิงหัวให้น่ะสิ”
อาฟเตอร์ช็อกดังกล่าวส่งผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศอิรัก มีผู้เข้าร่วมประชุม 180 คน จาก 329 คน มีมติให้กองกำลังทหารของประเทศสหรัฐอเมริกา ออกไปจากอิรัก สำนักข่าว Iranian Labour News Agency ยังได้รายงานด้วยว่า หนึ่งในสมาชิกรัฐสภา ประกาศพร้อมถล่มทำเนียบขาวได้ทุกเมื่อ ทั้งนี้ อิหร่านได้เรียกร้องให้ประชาชนช่าวอิหร่าน 80 กว่าล้านคน ช่วยกันบริจาคเงินคนละ 1 ดอลลาร์ เพื่อระดมทุนเป็นเงินค่าหัวนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งหากทำสำเร็จ จะได้เงินค่าหัวถึง 80 ล้านเหรียญ
พระเจสัน-หลังจากที่ละทางโลก เข้าสู่ทางธรรม และลาบวชเป็นรอบที่ 3 แล้ว สำหรับ พระเจสัน หรือ เจสัน ยัง ที่ในขณะนี้ ได้เดินทางไปบวช และศึกษาธรรมอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย เป็นเวลาเกือบ 2 เดือนแล้ว ก่อนที่จะเกิดเหตุไฟไหม้ป่าครั้งใหญ่ที่ออสเตรเลีย หลายคนก็อยากจะทราบว่าท่านเป็นอย่างไร ได้รับผลกระทบในครั้งนี้หรือไม่
ล่าสุดวันนี้ (6 มกราคม 2563) พระเจสัน ได้ออกมาเคลื่อนไหวผ่านทางอินสตาแกรมส่วนตัว โดยท่านได้โพสต์ภาพขณะที่กำลังออกเดินบิณฑบาต และสวมหน้ากากกันมลพิษจากควันไฟ และจะเห็นว่าท้องฟ้ามืดครึ้ม เนื่องจากผลของไฟป่าที่ยังลุกลามอยู่ในขณะนี้
พระเจสันได้เขียนว่า ขอให้ทุกชีวิตจงแคล้วคลาดปลอดภัย พ้นจากทุกข์ภัยในครั้งนี้ และหากดวงจิตชีวิตใดต้องจากโลกนี้ไป ขอให้มีสวรรค์เป็นจุดหมายปลายทางด้วยเทอญขออนุญาติและขอขอบคุณเจ้าของภาพด้วย
นอกจากนี้ยังมีรูปเหตุการณ์ไฟไหม้ เจ้าหน้าที่กู้ภัย และสัตว์ทั้งหลายที่ได้รับผลกระทบไปตามๆ กัน จนเสียชีวิตไปมากกว่า 500 ล้านตัว สร้างความโศกเศร้า เสียใจต่อผู้ที่พบเห็นภาพดังกล่าวเป็นอย่างมาก
ทางเราขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ประสบภัยในประเทศออสเตรเลียด้วยนะคะ และขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
ไฟป่าออสเตรเลีย คร่าชีวิตสัตว์ป่าเกือบ 500 ล้านตัว ช่องทางบริจาค
จากวิกฤตไฟป่าออสเตรเลีย ที่ยาวนานกว่า6เดือนเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน2562 จนถึงปัจจุบันไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลาย เปลวเพลิงเผาไหม้สัตว์ท้องถิ่นของออสเตรเลีย เช่นจิงโจ้ โคอาล่า ตายไปเกือบ500ล้านตัว ทั้งภาพซากสัตว์ที่ถูกไฟป่าคลอก ได้ถูกแชร์และกลายเป็นกระแส #prayforaustralia
ทั้งนี้ประชากรโคอาล่าถูกเผาไปทั้งหมดกว่า30%ของประชากรโคอาล่าทั้งหมดในออสเตรเลีย ส่งผลให้ประชากรโคอาล่าสุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
ปัจจุบันได้มีทานน้ำใจจากทั่วโลกกว่า 2ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 60ล้านบาท ถูกส่งไปยังโรงพยาบาลโคอาล่า
อ้างอิงจากรายงานนายกรัฐมนตรี ของออสเตรเลีย ผู้เสียชีวิตทั้งหมด 23 คน บ้านเรือนเสียหายกว่า 1,500 หลัง ไฟป่าได้กินพื้นที่ 165,000 ไร่ โดยไม่สามารถควบคุมไฟป่าได้ โดยไฟป่าได้เริ่มต้นจาก3จุด ประกอบไปด้วยพื้นที่ ในรัฐวิคตอเลีย นิวเซาท์เวลล์ และซิดนีย์ นอกจากนี้สภาพอากาศยังได้ย่ำแย่ลง แรงลมที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ไฟป่าทวีความรุนแรงขึ้น
นายกรัฐมนตรีได้ส่งเจ้าหน้าที่ควบคุมไฟป่ากว่า 3,000 นาย พร้อมเครื่องบินดับไฟอีก4ลำ สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคเงิน สามารถบริจาคเงินได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้
โดยนาย มัตซูโน กล่าวว่าคาดว่ามีผู้ป่วยติดโรคดังกล่าวแล้วอย่างน้อย 7 รายนับตั้งแต่ช่วงปี 2557 อย่างไรก็ตามไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสชนิดดังกล่าว
มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ซีอีโอเฟซบุ๊กเหงื่อตก หลังจากที่สูญเสียทรัพย์สินเป็นมูลค่ากว่าสองแสนล้านบาท หลังเฟซบุ๊กและเว็บในเครือล่มนานหกชั่วโมง เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม สำนักข่าว บลูมเบิร์กได้รายงานว่านาย มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของบริษัทเฟซบุ๊ก ต้องสูญทรัพย์สินเป็นมูลค่ากว่า สองแสนล้านบาทภายในกี่ชั่วโมง หลังจากเว็บเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม และ WhatsApp ขัดข้องและไม่สามารถใช้การได้ในช่วงค่ำของวันที่ 4 ตุลาคม ตามเวลาของประเทศไทย
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง